เคยไหม? วางแผนเที่ยวล่วงหน้า เตรียมทุกอย่างพร้อม แต่พอถึงสนามบินกลับเจอเหตุการณ์ “เที่ยวบินดีเลย์” หรือ “เที่ยวบินถูกยกเลิก” ล่าสุด คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ได้ออก ข้อบังคับฉบับใหม่ (ฉบับที่ 101) ที่เพิ่มความคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารเที่ยวบินระหว่างประเทศในกรณี เที่ยวบินดีเลย์ หรือ ถูกยกเลิกแบบไม่แจ้งล่วงหน้า โดยมีผลตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป กรณีดีเลย์เกิน 10 ชั่วโมง ยังมีสิทธิรับเงินคืนหรือเครดิตเพิ่มอีกต่างหาก!
และสำหรับบทความนี้ Travelzeed จะพาคุณมาเช็กสิทธิแบบครบ ๆ ไม่ว่าคุณจะบินต่างประเทศ หรือในประเทศ จะได้รับชดเชยอะไรบ้าง แต่ก่อนอื่นเลย ไปทำความรู้จักกันก่อนว่า เที่ยวบินดีเลย์ คืออะไร?
เที่ยวบินล่าช้า คืออะไร?
เที่ยวบินล่าช้า หรือ เที่ยวบินดีเลย์ (Flight Delay)คือ เที่ยวบินที่ออกเดินทางล่าช้ากว่ากำหนดเวลาที่ระบุในตั๋วโดยสาร และหากมีความล่าช้าเกิดขึ้นนานขึ้นอีก เช่น เกิน 2 ชั่วโมง, 5 ชั่วโมง หรือ มากกว่า 10 ชั่วโมง สายการบินอาจต้องจัดสรรบริการพื้นฐาน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ที่พัก หรือแม้แต่ ค่าชดเชยเป็นเงินสดหรือเครดิตสำหรับเที่ยวบินถัดไป ให้กับผู้โดยสารตามกฎของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)
สิทธิของผู้โดยสารจะได้รับชดเชยอะไรบ้าง?
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น จะแบ่งเหตุการณ์ออกเป็น 4 กรณีหลัก ๆ พร้อมสรุปสิทธิของผู้โดยสารที่จะได้รับชดเชย ดังนี้
1. กรณีเที่ยวบินระหว่างประเทศล่าช้า
หากล่าช้าเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้โดยสารจะได้รับสิทธิชดเชย ดังนี้
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
หากล่าช้าเกิน 5 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้โดยสารจะได้รับสิทธิชดเชย ดังนี้
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
- ที่พัก พร้อมบริการรับ-ส่ง (หากต้องมีการพักค้างคืน)
- หากผู้โดยการไม่ต้องการเดินทางแล้ว สามารถขอรับค่าโดยสารคืนได้
- ได้รับค่าชดเชยเป็นเงินสด จำนวน 1,500 บาท หรือเครดิตสำหรับครั้งถัดไป ภายในระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุเที่ยวบินล่าช้า
หากล่าช้าเกิน 10 ชั่วโมง ผู้โดยสารจะได้รับสิทธิชดเชย ดังนี้
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
- ที่พัก พร้อมบริการรับ-ส่ง (หากต้องมีการพักค้างคืน)
- หากผู้โดยการไม่ต้องการเดินทางแล้ว สามารถขอรับค่าโดยสารคืนได้ / เปลี่ยนเที่ยวบิน
- ได้รับค่าชดเชยเป็นเงินสด หรือเครดิตสำหรับครั้งถัดไป ภายในระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุเที่ยวบินล่าช้า ตามเงื่อนไข ดังนี้
- 2,000 บาท สำหรับเที่ยวบินที่มีระยะทางไม่เกิน 1,500 กิโลเมตร
- 3,500 บาท สำหรับเที่ยวบินที่มีระยะทาง 1,500- 3,500 กิโลเมตร
- 4,500 บาท สำหรับเที่ยวบินที่มีระยะทางเกิน 3,500 กิโลเมตร
2. กรณีเที่ยวบินระหว่างประเทศถูกยกเลิก
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
- ที่พัก พร้อมบริการรับ-ส่ง (หากต้องมีการพักค้างคืน)
- หากผู้โดยการไม่ต้องการเดินทางแล้ว สามารถขอรับค่าโดยสารคืนได้ / เปลี่ยนเที่ยวบิน
- ได้รับค่าชดเชยเป็นเงินสด หรือเครดิตสำหรับครั้งถัดไป ภายในระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุเที่ยวบินล่าช้า ตามเงื่อนไข ดังนี้
- 2,000 บาท สำหรับเที่ยวบินที่มีระยะทางไม่เกิน 1,500 กิโลเมตร
- 3,500 บาท สำหรับเที่ยวบินที่มีระยะทาง 1,500- 3,500 กิโลเมตร
- 4,500 บาท สำหรับเที่ยวบินที่มีระยะทางเกิน 3,500 กิโลเมตร
3. กรณีเที่ยวบินภายในประเทศล่าช้า
หากล่าช้าเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้โดยสารจะได้รับสิทธิชดเชย ดังนี้
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
- หากผู้โดยการไม่ต้องการเดินทางแล้ว สามารถขอรับค่าโดยสารคืนได้
หากล่าช้าเกิน 3 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้โดยสารจะได้รับสิทธิชดเชย ดังนี้
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
- หากผู้โดยการไม่ต้องการเดินทางแล้ว สามารถขอรับค่าโดยสารคืนได้ / เปลี่ยนเที่ยวบิน / เดินทางโดยขนส่งอื่น
หากล่าช้าเกิน 5 ชั่วโมง ผู้โดยสารจะได้รับสิทธิชดเชย ดังนี้
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
- หากผู้โดยการไม่ต้องการเดินทางแล้ว สามารถขอรับค่าโดยสารคืนได้ / เปลี่ยนเที่ยวบิน / เดินทางโดยขนส่งอื่น / เดินทางโดยขนส่งอื่น
- ได้รับค่าชดเชยเป็นเงินสด จำนวน 1,200 บาท หรือเครดิตสำหรับครั้งถัดไป
4. กรณีเที่ยวบินภายในประเทศถูกยกเลิก
- อาหาร และเครื่องดืม
- การอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อสื่อสาร
- ที่พัก พร้อมบริการรับ-ส่ง (หากต้องมีการพักค้างคืน)
- หากผู้โดยการไม่ต้องการเดินทางแล้ว สามารถขอรับค่าโดยสารคืนได้ / เปลี่ยนเที่ยวบิน
- ได้รับค่าชดเชยเป็นเงินสด จำนวน 1,500 บาท หรือเครดิตสำหรับครั้งถัดไป
ขั้นตอนการขอค่าชดเชยจากสายการบิน
1. เก็บหลักฐานให้ครบ
- ตั๋วโดยสารหรืออีเมลยืนยันการจอง
- บอร์ดดิ้งพาส (ถ้ามี)
- เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าเที่ยวบินดีเลย์หรือถูกยกเลิก เช่น ข้อความจากสายการบิน, ป้ายประกาศที่สนามบิน, รูปถ่าย
2. ติดต่อสายการบินโดยตรงทันที
- ไปที่เคาน์เตอร์ของสายการบิน ณ สนามบิน
- หรือโทรติดต่อ Call Center ของสายการบิน
- หรือส่งอีเมลถึงแผนกลูกค้าสัมพันธ์/ร้องเรียน พร้อมแนบหลักฐาน
3. แจ้งความต้องการชัดเจน
- ขอรับค่าชดเชย (เงินสด/เครดิตเดินทาง) ตามสิทธิ
- ขออาหาร เครื่องดื่ม หรือที่พัก (ตามเวลาที่ดีเลย์)
- ขอเปลี่ยนเที่ยวบินหรือคืนเงินเต็มจำนวน
4. ขอเอกสารยืนยัน
- ขอหนังสือรับรองความล่าช้าหรือการยกเลิกจากสายการบิน
- ใช้เป็นหลักฐานหากต้องยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานภาครัฐในภายหลัง
5. หากไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้ยื่นเรื่องร้องเรียน
สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนผ่าน:
- เว็บไซต์ CAAT: https://complaint.caat.or.th
- อีเมล: info@caat.or.th
- โทรศัพท์: 02-568-8803
ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิผู้โดยสาร
- สิทธิเหล่านี้เป็นไปตามข้อบังคับของ คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ฉบับที่ 101
- ใช้กับเที่ยวบินของสายการบินที่อยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศไทย
- ต้องเก็บ หลักฐานการเดินทางและตั๋วโดยสาร ไว้ให้ครบ
- สิทธิในการขอชดเชยจะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด